top of page

Nature of Nature (ธรรมชาติของป่า)

ธรรมชาติของป่าชายเลน

ป่าชายเลน เป็นกลุ่มของสังคมพืชที่เป็นไม้ไม่ผลัดใบ พันธุ์ไม้แต่ละชนิดจะขึ้นเป็นแนวเขต หรือเป็นโซนอย่างเห็นได้ชัดจากบริเวณชายฝั่งทะเลลึกเข้าไปในชายฝั่งด้านใน ต่างจากป่าบก ซึ่งพรรณไม้ในป่าชายเลน จะขึ้นอยู่กับลักษณะของดิน ความเค็มของดินและน้ำ รวมถึงการขึ้นลงของน้ำทะเล

แนวเขตของพรรณไม้ป่าชายเลน
(แบ่งตามความเด่นชัดของพรรณไม้) 

แสม.jpg

กลุ่มไม้แสมและไม้โกงกาง มักขึ้นตามริมน้ำซึ่งเป็นดินเลนลึกมีน้ำท่วมถึงเป็นประจำและในบริเวณที่มีความเค็มน้อยจะพบ กลุ่มไม้ลำพู ขึ้นอยู่ ซึ่งลำพูและแสมเป็นไม้เบิกนำ

ข้อสังเกต :

  • ไม้เสม็ด จะขึ้นอยู่แนวเขตสุดท้าย ซึ่งเป็นพื้นที่เลนแข็งที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นครั้งคราว ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดเท่านั้น และแนวเขตนี้ถือว่าเป็นแนวติดต่อระหว่างป่าชายเลนกับป่าบก

  • โปรงทะเล จะขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นในบริเวณที่ป่าชายเลนถูกถางและถูกทำลาย

  • สำหรับพืชที่พบในน้ำคือสาหร่าย และแพลงก์ตอนพืชต่าง ๆ

การปรับตัวของพรรณไม้ในป่าชายเลน

พรรณไม้ในป่าชายเลนมีการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่มีความท้าทาย เช่น ความเค็มของน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ และดินที่มีออกซิเจนต่ำ นั่นก็เพื่อการเติบโต อยู่รอด และแพร่กระจายพันธุ์  
trees-by-river-forest-against-sky.jpg
รากคล้ายดินสอ01.jpg

ระบบราก

พรรณไม้จะมีรากที่แผ่กว้างและโผล่พ้นระดับผิวดิน ซึ่งก็คือ รากค้ำจุน หรือ รากค้ำยัน มีหน้าที่ช่วยยึดและค้ำจุนลำต้นให้ตั้งอยู่ในบริเวณดินเลนได้ ทนกับลมพายุที่รุนแรงได้ ช่วยลดแรงสั่นสะเทือน ช่วยในการทรงตัวได้เป็นอย่างดี เช่น โกงกาง บางพันธุ์ไม้มีรากหายใจที่แทงขึ้นจากรากใต้ดินเป็นแท่งตรง เรียกว่า รากคล้ายดินสอ มักจะพบเห็นบริเวณรอบ ๆ โคนต้น เช่น ใบพาย แสม หงอนไก่ใบเล็ก

ส่วนรากที่แทงขึ้นมาเป็นรูปทรงกรวยคว่ำ เรียกว่า รากคล้ายกรวยคว่ำ พบใน แสม ลำพูทะเล ลำแพน และตะบูนดำ รากหายใจอีกชนิดที่แทงขึ้นมาบนพื้นดินเป็นรูปหักงอคล้ายเข่า เรียกว่า รากคล้ายเข่า พบใน ถั่วขาว พังกาหัวสุม ฝาด และโปรง บางพันธุ์ไม้จะมีรากที่มีลักษณะเป็นสันแบนบริเวณโคนต้นและทอดยาวคดเคี้ยวออกไป เรียกว่า รากพูพอน พบใน ตะบูนและโปรง รากไม้ในป่าชายเลนเหล่านี้ สวยงาม แปลกตา สร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็น

ดอก ผล หรือต้นอ่อน

ดอก ผล ต้นอ่อนหรือฝัก เมื่อหลุดจากต้นลงสู่พื้นดินแล้ว จะสามารถเติบโตทางด้านความสูงอย่างรวดเร็ว สามารถลอยตัวในน้ำได้ ทำให้มีการแพร่กระจายพันธุ์ทางน้ำ

ใบมัน_เหงือกปลาหมอ.jpeg
ใบขับเกลือ.png

ใบ

ลักษณะใบ หนาและมีผิวมันเพื่อลดการสูญเสียน้ำ มีความสามารถในการสะท้อนแสงเพื่อป้องกันความร้อนจากแสงแดด บางชนิดมีขนปกคลุมผิวใบเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำออกจากใบ บางชนิดมีการเก็บกักน้ำไว้ในเซลล์พิเศษของใบ ซึ่งทำให้ใบมีลักษณะอวบน้ำ นอกจากนี้เซลล์ของพืชในป่าชายเลนยังมีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงกว่าเซลล์ปกติทั่วไป รวมทั้งมีต่อมขับเกลือทำหน้าที่ควบคุมความเข้มข้นของเกลือแร่ในเซลล์ใบให้อยู่ในระดับปกติอีกด้วย  

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ ๑ (ตราด)

เลขที่ ๖ หมู่ที่ ๑,๖ ตำบลแหลมงอบ

อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด

bottom of page